วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ดาวเคราะห์ คล้ายโลก มีอยู่เต็มไปหมดใน จักรวาล จริงหรือ?

ดาวเคราะห์ คล้ายโลก

                        ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า มีความเป็นไปได้สูงว่า ในจักรวาลแห่งนี้มีดาวเคราะห์ที่เหมือนกับโลกอยู่มากมายในจักรวาล นั้นก็หมายความว่ามีสิ่งมีวิตอยู่เต็มไปหมดในเอกภพนี้ และนี้อาจจะกลายเป็นเรื่องปกติไปเลยทีเดียว กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ของนาซ่า ได้แสดงให้เห็นข้อมูลที่สำคัญว่า หนึ่งในห้าของทุกๆดาวฤกษ์จะมีหนึ่งดาวเคราะห์ที่เหมือนกันกับโลก นี้ก็หมายความว่า มีดาวเคราะห์นับพันล้านดวงในกาแลคซีของเราที่อำนวยต่อสิ่งมีชีวิต ผลงานวิจัยของเมื่อเร็วๆนี้ ของผลการประชุมสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้แถลงการณ์พิเศษในแคลิฟอร์เนีย
                 “เมื่อคุณมองขึ้นไปบนฟ้ายามค่ำคืน แล้วลองคิดดูว่ามีดาวเคราะห์กี่ดวงที่เหมือนกับโลกเราถามโดย Erik Petigura นักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบิร์กลีย์และนักเขียน นักประพันธ์ เราสามารถเริ่มการตอบคำถามนี้ได้ นักวิจัยเชื่อว่าประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของดาวฤกษ์ จะมีบริวารดาวเคราะห์ที่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตคล้ายกันกับโลกอยู่ และถ้านี้ถูกต้อง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียงโลกมากที่สุดโดยมีสภาพเหมาะต่อการดำรงชีวิตอยู่ อาจอยู่ใกล้เราแค่ 12ปีแสง ภายในดาราจักรของเรา โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ได้พยายามค้นหาดาวเคราะห์ในพื้นที่เล็กๆของกลุ่มดาวหงส์ และได้เห็นแสงสลัวๆของดาวฤกษ์ นี้แสดงให้เห็นว่าเกิดจากการบดบังโดยการโคจรของดาวเคราะห์ตัดผ่านดาวฤกษ์ และสามารถระบุขนาดของแต่ละดาวเคราะห์ได้ด้วยการคำนวณโดยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน เช่น Keck 1 ในฮาวาย เพื่อดูและเปรียบเทียบกับโลก  “ขนาดเท่าโลกไม่ได้หมายความว่าต้องเหมือนกันกับโลก Seager ได้กล่าวเอาไว้ หนึ่งในผู้ร่วมเขียน เจฟฟ์มาร์ซี่นักดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้เพิ่มเติมว่าดาวเคราะห์ที่มีขนาดเท่าโลกอาจมีอุณหภูมิพอๆกับชาในถ้วย ซึ่งมีอยู่ทั่วไป รอบๆดาวฤกษ์ การค้นพบที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้ต้องยกเครดิตให้กับกล้องโทรทรรศน์อวกาศKepler แต่น่าเสียดายที่กล้องนั้นเกิดขึ้นล่าสุด เราจึงเพิ่งรู้เรื่องเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะช้าไปหน่อย แต่ไม่เป็นไรยังมีเวลาอีกมากสำหรับนักดาราศาสตร์รุ่นใหม่ ที่จะใช้กล้องนี้ส่องไปยัง สวรรค์เพื่อค้นหาดาวเคราะห์ โดยหวังว่าสักวันหนึ่งเราจะเจอกับดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตทรงปัญญา เราจะได้ไม่เหงาอีกต่อไปในจักรวาลอันกว่าใหญ่นี้ นี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างมาก ในการปูทางพัฒนา เพื่อท่องอวกาศในอนาคตภายภาคหน้า โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ แสวงหาดาวเคราะห์ที่สนับสนุนการดำรงอยู่ของชีวิต และดูเหมือนว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ถูกออกแบบและสร้างมาอย่างทันสมัยที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา มันมีระบบการประมวลผลที่มีความละเอียดสูง ซึ่งเหมาะสำหรับการตรวจสอบหาดาวเคราะห์แฝดโลก ซึ่งจะโคจรใกล้ๆกับดาวแคระแดง เพราะศึกษาตรวจสอบได้ง่ายสุด และยังไว้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์เพื่อค้นหาดาวเคราะห์ที่เหมือนโลก แหล่งเงินทุนสำหรับอุปกรณ์จากการร่วมมือจาก แคนาดา ฝรั่งเศส ฮาวาย สำหรับหอดูดาวหรือที่เรียกย่อว่าCFHT(Canada-France-Hawaii Telescope) มหาวิทยาลัย Montreal และนักดาศาสตร์ฝรั่งเศสจากFrance’s Institut de Planétologie et d’Astrophysique de Grenoble จะเป็นผู้นำของสมาคมระดับประเทศในการจัดการโครงการ SPIRou โดยโครงการSPIRou เป็น spectropolarimeter ก็คือเครื่องมือที่ถูกใช้ในการวัดค่าแสงจากการผลัดเปลี่ยนของแสงเพื่อดูและวิเคราะห์ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน  ซึ่งมีความไวและความแม่นยำเป็นอย่างสูงในการตรวจสอบหาดาวเคราะห์คล้ายโลกตามระบบดาวฤกษ์อื่นๆ โดยสามารถบันทึกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เล็กๆของดาวฤกษ์ เมื่อมีดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านตัดดาวฤกษ์ René Doyon นายกสมาคมโครงการ SPIRou  อาจารย์ของมหาวิทยาลัย Montreal และผู้อำนวยการ ของหอดูดาว Mont-Mégantic ได้อธิบายว่ามันคล้ายกับระบบเรดาที่มีความเร็วปืนแต่แทนที่จะตรวจจับความเร็วของดาวฤกษ์ มันกลับตรวจหาของระยะการเปลี่ยนแปลงความเร็ว
               SPIRouได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี2014 โดยมีแผนในการก่อสร้างที่เมือง ตูลูส ฝรั่งเศสในปี2016 และเป็นที่คาดการว่า จะสามารถใช้การกล้องโทรทรรศน์ CFHได้ในปี 2017 SPIRouจะมีความสามารถในการตรวจและวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์คล้ายโลกที่อยู่นอกระบบสุริยะได้ มันมีศักยภาพวิเคราะห์และตรวจหาของเหลวหรือสสารต่างๆได้ เพื่อนำมาพิจารณาอีกทีว่าสภาพแวดล้อมบนดาวเคราะห์ดวงนั้น เอื่ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิต ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่บนดาวดวงนั้นได้หรือไม่ ซึ่งจะได้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจโดยกล้องกล้องโทรทรรศน์อวกาศ  James Webb ในปี2018

               แล้วเราจะทำอย่างไรกับดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ที่จะอาศัย สนามแม่เหล็กของมันจะส่งผลกระทบต่อการกำเนิดหรือไม่ หรือว่าโลกของงเราเป็นหนึ่งในไม่กี่ดวงในดาราจักรทางช้างเผือกที่ สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้นั้นเพราะหัวใจหลักก็คือน้ำ โลกเราจะเป็นดาวเคราะห์ที่ล้ำค่าในจักรวาล ซึ่งที่ๆน้ำสามารถคงรูปอยู่ในรูปแบบของเหลวได้ หรือว่าเราอาจจะเป็นแค่ดาวดวงเดียวในจักรวาลที่มีความพิเศษ กล้องโทรทรรศน์ CFH โดย SPIRou คือก้าวต่อไปที่ยิ่งใหญ่ที่ ที่จะไขข้อสงสัยของเหล่านักดาราศาสตร์ ที่มีคำถามมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านม Doyon ได้กล่าวเอาไว้ Doyonยังเป็นนักวิจัยชั้นนำ ด้วยผลงาน FGS/NIRISS ที่จะถูกติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ Webb เพื่อค้นหาและศึกษาเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบและชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ SPIRou จะถูกติดตั้งที่กล้องโทรทรรศน์ CFH ในที่ๆสามารถมองสำรวจท้องฟ้าได้อย่างดี โดนจะตั้งอยู่ที่ความสูง 4,200 เมตร บนภูเขาไฟที่ดับแล้วอย่าง Maunea Kea ในฮาวาย ที่นี้เป็นจุดสูงสุดของการติดตั้งเครื่องมือดูดาวและมีสถานที่ดีที่สุดในโลกในการปฏิบัติงานของนักดาราศาสตร์


ภาพจำลอง ของดาวเคราะห์คล้ายโลก กับขนาดที่แตกต่างกันออกไป


กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ กับภารกิจสำคัญในการตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบ

Kepler 62f และ Kepler 62e ดาวเคราะห์ที่ตรวจพบโดยกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์

ระยะความสามารถในการตรวจหาดาวเคาะห์ในระยะ 3,000 ปีแสง ในดาราจักรทางช้างเผือก

หอดูดาว CFH ในฮาวาย

อุปกรณ์สำคัญ The Fine Guidance Sensor (FGS) ที่จะถูกติดตั้งบนยานอวกาศWebbที่จะเพิ่มความสามารถในการค้นหาที่แม่นยำสูง


กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ ยานอวกาศรุ่นใหม่และมีราคาที่แพงอย่างมาก และคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะเจ้านี้จะช่วยไขปริศนา ว่าเราอยู่คนเดียวในจักรวาลนี้จริงหรือไม่








ขอบคุณท่านผู้ชมที่ติดตามอ่าน ขอให้ทุกท่านให้โชคดี


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น