อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้ที่ได้เป็น
บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ให้กำเนิดอาวุธมหาประลัยอย่าง
ระเบิดปรมาณู และผู้เป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในวงการวิทยาศาสตร์
ในช่วงศัตวรรษที่20
อัลเบอร์ต ไอน์สไตน์ ผู้ที่ได้เป็น
บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ให้กำเนิดอาวุธมหาประลัยอย่าง
ระเบิดปรมาณู และผู้เป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในวงการวิทยาศาสตร์
ในช่วงศัตวรรษที่20
ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศเยอรมันนี
เมื่อวันที่14 มีนาคม ปี1879 ในปีถัดมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่เมืองมิวนิค
และที่นี้ไอน์สไตน์ได้อาศัยอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งอายุได้ 15 ปี
เขามีจิตใจที่รักเสียงดนตรี และเขายังสามารถสีไวโอลินได้อย่างดีเยี่ยมในขณะที่เขาอายุได้เพียง
6 ปีเท่านั้น พออายุครับ12ปี เขาสามารถเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง
เมี่ออายุได้ 15 ปี ไอน์สไตน์ได้ย้ายตามครอบครัวจากมิวนิคไปอยู่ที่เมืองมิลาน
ประเทศอิตาลี ด้วยความสามารถที่เขาเก่งทางด้านคำนวณทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เขาจึงสอบเข้าเรียนได้ที่
The Federal Institute of Technology ในซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้อย่างง่ายดาย
ทั้งๆที่เขาตกวิชาภาษาศาสตร์ สัตวศาสตร์ และพฤกษศาสตร์
หลังจากจบการศึกษาในปี 1900 ไอน์สไตน์ก็ได้เข้าทำงานทางไปรษณีย์ได้อยู่
2 ปี จึงได้งานทำเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ในสถาบันแห่งหนึ่งในกรุงบอร์น
ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี1921และยังได้รับเชิญไปปาฐกถาตามประเทศต่างๆมากมาย
ในปี 1933 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกานั้น เป็นช่วงเวลี่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำการกวาดล้างชาวยิว
ไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็นพลเมืองของชาวเยอรมัน
เขาจึงตัดสินใจที่จะอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำงานอยู่ที่สถาบันการศึกษาในปรินซ์ตันนิวเจอร์ซี
และได้สัญชาติอเมริกันในปี 1941
ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงมาก เนื่องจากเขาเป็นผู้คิดค้นและให้กำเนิดทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์
ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ ของไฟฟ้าและทรรศนะศาสตร์
นอกจากนั้นเขายังขึ้นชื่อว่า เป็นผู้ที่มีผลงานสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎีควอนตัม และทฤษฎีเกี่ยวกับแรง
ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ แม้กระทั้งความนึกคิดในสมัยโคเปอร์นิคัส(นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์)
ก็ได้ถูกไอน์สไตน์หักล้างไปเกิบหมด และตลอดช่วงอายุของเขาๆได้ทำคุณประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์อย่างมหาศาลและเป็นผลสืบมาจึนถึงปัจจุบัน
ไอน์สไตน์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปี 1955
ผลงานของไอน์สไตน์ในสาขาฟิสิกส์มีมากมาย
ดังนี้
-ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
ซึ่งนำกลศาสตร์มาประยุกต์รวมกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
-ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นไปตาม equivalence principle
-วางรากฐานของจักรวาลเชิงสัมพัทธ์
และค่าคงที่จักรวาล
-ขยายแนวความคิดยุคหลังนิวตัน
สามารถอธิบายจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวพุธได้อย่างลึกซึ้ง
-ทำนายการหักเหของแสงอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงและเลนส์ความโน้มถ่วง
-อธิบายการเกิดปรากฏการณ์ของแรงยกตัว
-ริเริ่มทฤษฎีการแกว่งตัวอย่างกระจายซึ่งอธิบายการเคลื่อนที่ของบราวน์ของโมเลกุล
-ทฤษฎีโฟตอนกับความเกี่ยวพันระหว่างคลื่น-อนุภาค
ซึ่งพัฒนาจากคุณสมบัติอุณหพลศาสตร์ของแสง
-ทฤษฎีควอนตัมเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอะตอมในของแข็ง
-Zero-point energy
-อธิบายรูปแบบย่อยของสมการของชเรอดิงเงอร์
-EPR paradox
-ริเริ่มโครงการทฤษฎีแรงเอกภาพ
ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์มากกว่า
300 ชิ้น และงานอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกกว่า 150 ชิ้น ปี พ.ศ. 2542
นิตยสารไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น "บุรุษแห่งศตวรรษ"
ผู้เขียนชีวประวัติของเขาเอ่ยถึงเขาว่า "สำหรับความหมายในทางวิทยาศาสตร์
และต่อมาเป็นความหมายต่อสาธารณะ ไอน์สไตน์ มีความหมายเดียวกันกับ อัจฉริยะ
ฃ
เกิด
|
14 มีนาคม พ.ศ. 2422
อูล์ม ราชอาณาจักรเวือร์ทเทมแบร์ก
จักรวรรดิเยอรมัน
|
เสียชีวิต
|
18 เมษายน พ.ศ. 2498 (76
ปี)
พรินสตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
|
สัญชาติ
|
เยอรมนี
(พ.ศ. 2422 - 2439 และ 2457 -
2476)
ชาวสวิส (พ.ศ. 2444 - 2498)
สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2483 - 2498)
|
อาชีพ
|
นักฟิสิกส์ทฤษฎี
|
รู้จักใน
สถานะ
|
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
การเคลื่อนที่ของบราวน์
สมการสนามของไอน์สไตน์
ทฤษฎีแรงเอกภาพ
|
ไอน์สไตน์ขณะอายุครบ 3ปี ในปี1882
ไอน์สไตน์ขณะอายุได้14ปี ในปี1893
นี้เป็นใบผลการเรียนของ ไอน์สไตน์ขณะที่เขาอายุได้ 17ปี จาก Aargau Kantonsschule
ไอน์สไตน์เในเมืองนิวยอร์ก เป็นการมาเยือนครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรก ในปี1921
ขอบคุณท่านผู้ชมที่ติดตามอ่าน ขอให้ทุกท่านให้โชคดี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น